ตัววิ่ง

◕‿ ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานของมาพิกา ทองบุญเพียร ได้เลยค่ะ ◕‿◕

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายเป็นเกณฑ์ กติกา หรือ มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการอยูาร่วมกันในสังคม เพื่อให้สมาชิกประพฟติปฏิบัตตาม โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่น กฎหมายมีสภาพบังคับ นันคือ สมาชิกในสังคมทุกคนจะต้องรู้กฎหมายผู้ใดจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้  และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด แบ่งเป็น 2 ส่วน คือกฎหมายแพลักษณะครอบครัวและกฎหมายเกี่ยวกับชุมชนและประเทศชาติ

 1. กฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว กฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การหมั้นและการสมรส
1.1 การหมั้น หมายถึง การที่ชาย หญิงทำสัญญากันว่าจะทำการสมรสกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมเรียกค่าทดแทนได้  อ่านเพิ่มเติม


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญ(Constitution) หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐถ้าแปลตามความคำจะหมายถึงการปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)ในความหมายอย่างแคบ “รัฐธรรมนูญ” ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ใช่สิ่งเดียวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional Low) “เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ” มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกๆที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาในภาษาของประเทศทั้งสองคำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า (Constitution ซึ่งแปลว่าการสถาปนาหรือการจัดตั้งซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือการจัดตั้งรัฐนั่นเองโดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีแต่จารีตประเพณีหรือ “ธรรมเนียมทางการปกครอง” ที่กระจายอยู่ตามกฎหมายคำพิพากษาต่างๆรวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณีซึ่งถือเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สืบทอดมาจากประวัติศาสตร์ของชาตินั่นเอง  อ่านเพิ่มเติม


การปกครองระบอบประชาธิปไตย

คำว่า ประชาธิปไตย เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโลกปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ แม้จะมีรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็อ้างว่าประเทศของตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น   ในประเทศสังคมนิยมหลายประเทศ เช่น อดีตสหภาพโซเวียต และจีน ต่างก็อ้างว่าประเทศของตน  ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยในอีกแง่หนึ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ กล่าวคือ ยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด ส่วนการดำเนินการทางการเมือง ยังคงตกอยู่ในมือของผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คนเท่านั้น นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย หลังจากได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ในสมัยของประธานาธิบดีซูการ์โน ได้ประกาศใช้ระบอบประชาธิปไตยนำวิถี   จากความหลากหลายของการให้ความหมายนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในที่นี้จะขออธิบายประชาธิปไตยในความหมายของเสรีประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยแบบตะวันตกเท่านั้น  อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปกครองระบอบประชาธิปไตย

สิทธิมนุษยชน

 สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่าง เต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้น ตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ  อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สิทธิมนุษยชน ม.4

พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

 คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลกที่สำคัญคือ การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หากประเทศชาติและสังคมโลกของเรา มีพลเมืองที่ดีมีคุณลักษณะเช่นนี้ ก็จะก่อให้เกิดความสงบสุข  อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมไทย

ความหมายของวัฒนธรรม

     วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
     วัฒนธรรม เป็นแบบแผนที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมพื้นฐานและความจำเป็นของมนุษย์ ได้แก่ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ขอบข่ายของวัฒนธรรมแสดงถึงขีดความสามารถของมนุษย์ในการศึกษาเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆสำหรับการปรับตัว แก้ปัญหา พัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกาย อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฒนธรรมไทย ม.4

สังคมมนุษย์

สังคม  คือ กลุ่มคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป  อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนแห่งใดแห่งหนึ่ง  เพื่อช่วยเหลือพึ่งพากันและตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตซึ่งกันและกัน  กลุ่มคนเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อม สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็น “สัตว์สังคม” เพราะมนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน  สรุปสาเหตุที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม อ่านเพิ่มเติม